วันพุธที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ลักษณะคำไทยแท้

จากเว็บนี้  ได้กล่าวว่า

๑.คำไทยแท้ส่วนมากมีพยางค์เดียว ไม่ว่าจะเป็นคำนาม สรรพนาม วิเศษณ์ บุพบท สันธาน อุทาน ฯลฯ ซึ่งเรียกว่าภาษาคำโดด เช่น ลุง ป้า น้า อา กา ไก่ ฯลฯ มีคำไทยแท้หลายคำที่มีหลายพยางค์ เช่น มะม่วง สะใภ้ ตะวัน กระโดด มะพร้าว ทั้งนี้เพราะสาเหตุที่เกิดจาก
๑.๑ การกร่อนเสียง คำ ๒ พยางค์เมื่อพูดเร็วๆ เข้า คำแรกจะกร่อนลง เช่น
มะม่วง – หมากม่วง
ตะคร้อ – ต้นคร้อ
สะดือ – สายดือ
มะตูม – หมากตูม
๑.๒ การแทรกเสียง คือคำ ๒ พยางค์เรียงกันแล้วมีเสียงแทรกตรงกลาง เช่น
ลูกกระดุม – ลูกดุม
ผักกระถิน – ผักถิน
นกกระจอก – นกจอก
ลูกกระเดือก – ลูกเดือก
๑.๓ การเติมพยางค์หน้าคำมูลโดยเติมคำให้มีความหมายใกล้เคียงกัน เช่น
จุ๋มจิ๋ม – กระจุ๋มกระจิ๋ม
เดี๋ยว – ประเดี๋ยว
ท้วง – ประท้วง
ทำ – กระทำ
         ๒. คำไทยแท้ไม่มีตัวการันต์ ไม่นิยมคำควบกล้ำแต่มีเสียงควบกล้ำอยู่บ้างเป็นการควบกล้ำด้วย ร,ล,ว และมีตัวสะกดตรงตามมาตรา เช่น เชย สาว จิก กัด ฯลฯ
         ๓. คำไทยแท้มีวรรณยุกต์ทั้งมีรูปและไม่มีรูป เพื่อแสดงความหมาย เช่น ฉันอ่านข่าวเรื่องข้าว
         ๔. การเรียงคำในภาษาไทยสับที่กันทำให้ความหมายเปลี่ยนไป เช่น
        ใจน้อย – น้อยใจ
        กลัวไม่จริง – จริงไม่กลัว
        ๕. คำไทยจะใช้รูป “ไอ” กับ “ใอ” จะไม่ใช้รูป “อัย” เลย และจะไม่พบพยัญชนะต่อ ไปนี้ ฆ ณ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ธ ศ ษ ฬ ยกเว้นคำบางคำที่เป็นคำไทย คือ ฆ่า เฆี่ยน ศึก ศอก เศิก เศร้า ธ ณ ฯพณฯ ใหญ่ หญ้า เป็นต้น
        คำไทยแท้มีตัวสะกดตรงตามมาตราตัวสะกด มาตราตัวสะกดมี 8 มาตรา คำไทยจะสะกดตรงตามมาตราตัวสะกดและไม่มีการันต์ เช่น
มาตราแม่กก ใช้ ก สะกด เช่น มาก จาก นก จิก รัก
มาตราแม่กด ใช้ ด สะกด เช่น กัด ตัด ลด ปิด พูด
มาตราแม่กบ ใช้ บ สะกด เช่น จับ จบ รับ พบ ลอบ
มาตราแม่กน ใช้ น สะกด เช่น ขึ้น อ้วน รุ่น นอน กิน
มาตราแม่กง ใช้ ง สะกด เช่น ลง ล่าง อ่าง จง พุ่ง แรง
มาตราแม่กม ใช้ ม สะกด เช่น ลาม ริม เรียม ซ้อม ยอม
มาตราแม่เกย ใช้ ย สะกด เช่น ยาย โรย เลย รวย เฉย
มาตราแม่เกอว ใช้ ว สะกด เช่น ดาว เคียว ข้าว เรียว เร็ว
        คำที่มีมาตราตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด จะเป็นคำที่เป็นภาษาอื่นที่ยืมมาใช้ในภาษาไทย


ลักษณะของคำไทยแท้

1. ส่วนมากมีพยางค์เดียว เข้าใจความหมายได้ทันที เช่น พ่อ แม่ ฉัน เธอ พูด เล่น ดี สวย เมื่อ กับ และ หรือ โธ่ ฯลฯ ถ้ามีคำมากพยางค์มักเกิดจากการสร้างคำ ดังนี้ 
2. มีตัวสะกดตรงตามมาตรา คือ แม่ กง กน กม เกย เกอว กก กด กบ 
3. ใช้รูปวรรณยุกต์เพื่อเพิ่มคำเพิ่มความหมาย เช่น นอง น่อง น้อง 
         4. พยัญชนะไทยมี 44 รูป โดยเพิ่มจากภาษาบาลี สันสกฤต 9 รูป ได้แก่ ฃ ฅ ซ ฎ ด บ ฝ ฟ ฮ คำที่ใช้รูปพยัญชนะเหล่านี้จึงมักเป็นคำไทย ยกเว้น ฎ จะใช้แทน ฏ ในคำที่รับมาจากภาษาบาลีสันสกฤต 
         5. รูปพยัญชนะต่อไปนี้ จะไม่ค่อยมีใช้ในคำไทยแท้ คือ ฆ ฌ ญ ฏ ฐ ฒ ณ ธ ภ ศ ษ ฬ ยกเว้น ฆ้อง ฆ่า เฆี่ยน ระฆัง ศอก ศึก เศิก ธ เธอ ณ ฯพณฯ หญ้า หญิง ใหญ่ 
         6. คำไทยแท้ที่ออกเสียง ไอ จะใช้เฉพาะไม้ม้วน 20 คำ และไม้มลายเท่านั้น

ข้าพเจ้าขอเพิ่มเติมอีกนิดว่า  พยัญชนะไทย มี 44 รูป แต่มีเพียง 28 เสียง  สระภาษาไทยมี 21 รูป 32 เสียง  สระแท้มี 18 เสียง สระผสมมี 6 เสียง  ส่วนสระเกิน มี 8 เสียง
ภาษาบาลีให้เข้าไปดูที่นี่นะจ๊ะ
ภาษาสันสกฤตไปที่นี่จ้ะ
ส่วนภาษาเขมรต้องที่นี่นะจ๊ะ